วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พระท่ามะปรางค์ กำแพงเพชร
ศิลปสกุลช่างสุโขทัยบริสุทธิ์
ต้นตระกูลพระท่ามะปรางกรุอื่น


            วัดพระนอนอยู่ทางทิศเหนือของตัวจังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากกำแพงเมือง     ประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ    พระท่ามะปราง ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ได้ขุดพบมี่จำนวนมากพอสมควรในจำนวนพระท่ามะปรางที่ขุดได้ตามกระในจังหวัดต่างๆ นั้นจะหาของกรุใดจะงดงามเทียบเท่า ของจังหวัดกำแพงเพชร   เป็นไม่มีอีกแล้วทั้งนี้หมายถึงเฉพาะที่เป็นเนื้อชินเท่าน้น นอกจากองค์พระจะมีความงดงามหาที่ติไม่ได้แล้ว   ปัจจบันราคาก็ยังงามเช่นกัน     มีพระทั้งหมดสามเนื้อสี่พิมพ์ด้วยกันคือ


  1. พิมพ์ท่ามะปราง  ที่มีทั้งเนือดินและชิน
  2. พิมพ์ซุ้มเสมา   มีแต่เฉพาะเนื้อชิน
  3. ว่านหน้าทองพิมพ์เปิดโลก   แต่ว่านไม่มีเพราะปลวกกินหมด คงเหลือแต่หน้าทองเท่านั้น
               
               พระพิมพ์ท่ามะปรางดิน ชิน และซุ้มเสมาบรรจุอยู่ในไหสังคโลกใบค่อนข้างใหญ่   ส่วนหน้าทองนั้นอยู่ในไหสังคโลกใบเล็กเคลือบน้ำยาสีเขียวไข่กางกงามมาก    ใส่ไว้ในไหใบใหญ่อีกทีหนึ่ง    นอกจากพระที่บรรจุอยู่ในไหแล้วยังมีแม่พิมพ์ดินอีกชิ้นหนึ่ง   เนื้อของแม่พิมพ์ยังเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้   ทำพระและที่สำคัญที่สุด มีลานทองคำจารึกอักษรรวมอยู่ด้วย  เจ้าของยินยอมขายลานทองแต่มีข้อแม้ว่า ขอไว้ก่อนจะนำไปให้พระแปล     เพราะอาจจะเป็นที่บอกขุมทรัพย์ตามความเชื่อถือของชาวบ้าน    นอกเหนือจากพระกับแม่พิมพ์ ตอมามีผู้ซื้อลานทองนั้นไป  หากผู้ที่ได้ลานทองไปนำข้อความมาเผยแพร่ อาจจะทำให้พระท่ามะปรางกรุนี้ดังเท่าผงสุพรรณใครจะรู้ได้





ลักษณะขององค์พระ

พระพักตร์   (หน้า)    คล้ายผลมะตูม
พระเกศ ค่อนข้างยาว
พระศก   (ผม)   หากพิจารณาดูจะเห็นว่าเม็ดพระศกเป็นเม็ดสี่เหลี่ยมไม่มีไรพระศก
พระเนตรเนื้อ   (คือเป็นรูปตาให้เห็นเหมือนตาจริงๆ)   พระเนตรขวาอยู่สูงกว่าพระเนตรซ้ายเล็กน้อยพอสังเกตได้  และหางพระเนตรข้างนี้ชี้ขึ้นทางเบื้องบน   ส่วนพะเนตรซ้ายอยู่ในระดับนอน งดงามมาก
พระขนง   (คิ้ว)   โค้งเหมือนพระบูชาสมัยสุโขทัย  ปลายพระขนงด้านในบรรจบตรงสันพระนาิสิก (จมูก) งดงามมาก
พระนาสิก   (จมูก)   ปลายพระนาสิกรู้สึกจะใหญ่ไปนิดแต่ก็ไม่ทำให้ความงดงามเสียไป
พระโอษฐุ์   (ปาก)   ชัดเจนสวยงามเน้นให้เห็นพระอนุ (คาง) ด้วย
พระกรรณ   (หู)   อ่อนช้อยเช่นเดียวกับพระบูชา พระกรรณทั้งสองข้างจรดพระอังสา  (บ่า) พระกรรณซ้ายยาวชนตรงสังฆาฏิพอดี
สังฆาฏิ   พาดยาวลงสุดตรงเหนือพระนาภี (สะดือ) กลางสังฆาฏิเป็นร่องจึงทำให้เป็นเส้นนูนสองเส้น
พระอุระ   (อก)   ได้สัดส่วนเช่นเดียวกับของวัดสะตือ
พระนาภี   (สะดือ)   เป็นแอ่งเหมือนพระบูชาสุโขทัย
พระอังสา   (ซ้าย)   ต่ำกว่าขวาเล็กน้อย ซึ่งตรงกันข้ามกับของวัดสะตือ
พระพาหา   (แขน)   ทั้งสองอ่อนสลวยงดงามยิ่ง
พระหัตถ์  (มือ)   ขวาแสดงปางมารวิชัย (สะดุ้งมาร) เขาใน (เข้าอยู่ในพระหัตถ์) เห็นชัดเจนพระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระเพลา (ตัก) ปลายนิ้วจรดโค้งขึ้นจรดพระพาหาเห็นนิ้วพระหัตถ์ข้างนี้เพียงสามนิ้วเท่านั้น