วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พระท่ามะปรางค์ กำแพงเพชร
ศิลปสกุลช่างสุโขทัยบริสุทธิ์
ต้นตระกูลพระท่ามะปรางกรุอื่น


            วัดพระนอนอยู่ทางทิศเหนือของตัวจังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากกำแพงเมือง     ประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ    พระท่ามะปราง ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ได้ขุดพบมี่จำนวนมากพอสมควรในจำนวนพระท่ามะปรางที่ขุดได้ตามกระในจังหวัดต่างๆ นั้นจะหาของกรุใดจะงดงามเทียบเท่า ของจังหวัดกำแพงเพชร   เป็นไม่มีอีกแล้วทั้งนี้หมายถึงเฉพาะที่เป็นเนื้อชินเท่าน้น นอกจากองค์พระจะมีความงดงามหาที่ติไม่ได้แล้ว   ปัจจบันราคาก็ยังงามเช่นกัน     มีพระทั้งหมดสามเนื้อสี่พิมพ์ด้วยกันคือ


  1. พิมพ์ท่ามะปราง  ที่มีทั้งเนือดินและชิน
  2. พิมพ์ซุ้มเสมา   มีแต่เฉพาะเนื้อชิน
  3. ว่านหน้าทองพิมพ์เปิดโลก   แต่ว่านไม่มีเพราะปลวกกินหมด คงเหลือแต่หน้าทองเท่านั้น
               
               พระพิมพ์ท่ามะปรางดิน ชิน และซุ้มเสมาบรรจุอยู่ในไหสังคโลกใบค่อนข้างใหญ่   ส่วนหน้าทองนั้นอยู่ในไหสังคโลกใบเล็กเคลือบน้ำยาสีเขียวไข่กางกงามมาก    ใส่ไว้ในไหใบใหญ่อีกทีหนึ่ง    นอกจากพระที่บรรจุอยู่ในไหแล้วยังมีแม่พิมพ์ดินอีกชิ้นหนึ่ง   เนื้อของแม่พิมพ์ยังเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้   ทำพระและที่สำคัญที่สุด มีลานทองคำจารึกอักษรรวมอยู่ด้วย  เจ้าของยินยอมขายลานทองแต่มีข้อแม้ว่า ขอไว้ก่อนจะนำไปให้พระแปล     เพราะอาจจะเป็นที่บอกขุมทรัพย์ตามความเชื่อถือของชาวบ้าน    นอกเหนือจากพระกับแม่พิมพ์ ตอมามีผู้ซื้อลานทองนั้นไป  หากผู้ที่ได้ลานทองไปนำข้อความมาเผยแพร่ อาจจะทำให้พระท่ามะปรางกรุนี้ดังเท่าผงสุพรรณใครจะรู้ได้





ลักษณะขององค์พระ

พระพักตร์   (หน้า)    คล้ายผลมะตูม
พระเกศ ค่อนข้างยาว
พระศก   (ผม)   หากพิจารณาดูจะเห็นว่าเม็ดพระศกเป็นเม็ดสี่เหลี่ยมไม่มีไรพระศก
พระเนตรเนื้อ   (คือเป็นรูปตาให้เห็นเหมือนตาจริงๆ)   พระเนตรขวาอยู่สูงกว่าพระเนตรซ้ายเล็กน้อยพอสังเกตได้  และหางพระเนตรข้างนี้ชี้ขึ้นทางเบื้องบน   ส่วนพะเนตรซ้ายอยู่ในระดับนอน งดงามมาก
พระขนง   (คิ้ว)   โค้งเหมือนพระบูชาสมัยสุโขทัย  ปลายพระขนงด้านในบรรจบตรงสันพระนาิสิก (จมูก) งดงามมาก
พระนาสิก   (จมูก)   ปลายพระนาสิกรู้สึกจะใหญ่ไปนิดแต่ก็ไม่ทำให้ความงดงามเสียไป
พระโอษฐุ์   (ปาก)   ชัดเจนสวยงามเน้นให้เห็นพระอนุ (คาง) ด้วย
พระกรรณ   (หู)   อ่อนช้อยเช่นเดียวกับพระบูชา พระกรรณทั้งสองข้างจรดพระอังสา  (บ่า) พระกรรณซ้ายยาวชนตรงสังฆาฏิพอดี
สังฆาฏิ   พาดยาวลงสุดตรงเหนือพระนาภี (สะดือ) กลางสังฆาฏิเป็นร่องจึงทำให้เป็นเส้นนูนสองเส้น
พระอุระ   (อก)   ได้สัดส่วนเช่นเดียวกับของวัดสะตือ
พระนาภี   (สะดือ)   เป็นแอ่งเหมือนพระบูชาสุโขทัย
พระอังสา   (ซ้าย)   ต่ำกว่าขวาเล็กน้อย ซึ่งตรงกันข้ามกับของวัดสะตือ
พระพาหา   (แขน)   ทั้งสองอ่อนสลวยงดงามยิ่ง
พระหัตถ์  (มือ)   ขวาแสดงปางมารวิชัย (สะดุ้งมาร) เขาใน (เข้าอยู่ในพระหัตถ์) เห็นชัดเจนพระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระเพลา (ตัก) ปลายนิ้วจรดโค้งขึ้นจรดพระพาหาเห็นนิ้วพระหัตถ์ข้างนี้เพียงสามนิ้วเท่านั้น  


วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556



พระกำแพงซุ้มกอ



พระกำแพงซุ้มกอ นับว่าเป็นพระอันดับหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชรและได้ัรับการยกย่องจากวงการพระเครื่องโดยทั่วไปให้เป็นหนึ่งในชุด  " เบญจภาคี "  เหตุที่พระกำแพงนี้ถูกนักนิยมพระเครื่องขนานนามว่า พระกำแพงซุ้มกอนั้น ท่านนักนิยมสะสมพระเครื่องรุ่นเก่าให้ทัศนะว่า เพราะท่านมีประภามณฑลคล้ายตัวบางท่านให้เหตุผลว่าพระกำแพงซุ้มกอนั้นน่าจะเรียกชื่อตามลักษณะซุ้มอันเป็นลักษณะเค้าโครงของพื้นฐานรอบนอกคล้ายตัว มากกว่าประภามณฑล สรุปแล้วมีเหตุผลดีด้วยกันทั้งสองฝ่าย

พระกำแพงซุ้มกอนี้ ถ้าจะแบ่งตามลักษณะใหญ่ๆ จะได้ 2 แบบคือ
  1. แบบมีกนก
  2. แบบไม่มีกนก
ตามสันนิษฐานพระำกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ไม่มีกนกนี้น่าจะเป็นแผนแบบของพิมพ์มีกนกมากกว่าถ้าจะแบ่งตามขนาด จะได้ 3 ขนาดคือ 
  1. พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่
  2. พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง
  3. พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์เล็ก

พุทธลักษณะ

พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระนั่งสมาธิ มีทั้งสมาธิราบและขัดเพชร พุทธลักษณะเหมือนพระพุทธรูปที่มีศิลปะเชียงแสนผสมสุโขทัย โดยมีองค์อวบอ้วน พระอุระผึ่ง และดูนูนเด่นเป็นสง่าแบบพระพุทธรูปเชียงแสน

เนื้อและสี

พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระเนื้อดินผสมเกษรและผงพระพุทธคุณ จึงดูหนึกนุ่มมากมีแร่ทรายเงินทรายทอง แร่ดอกมะขามละเอียดและอารักประอยู่ทั่วไป
สีพระกำแพงซุ้มกอ มีอยู่ด้วยกันหลายสี เช่น สีดำ แดง เขียว และเหลือง อันเป็นสีหลักขงพระกำแพงเพชรทั่วไป

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีข้อที่น่าสังเกตุดังนี้
  1. ในองค์ที่ยังไม่ผ่านการใช้จะปรากฏคราบผิวกรุเป็นนวลขาวเกาะแน่นอยู่ทั่วไป และมีรารักสีดำประอยู่ทั่วไป
  2. เส้นประภามณฑลรอบพระเศียรลักษณะคล้ายตัว ก นั้น จะชอนลึกเข้าไปด้านในพื้น ซึ่งยากต่อการถอดพิมพ์
  3. ในช่องพระพาหา (วงแขน) ทั้งสองข้างด้านบนรูจะเล็กและไปกว้างที่ด้านล่าง ชอนลึกเขาไปด้านหลังองค์พระ ลำแขนจะกลมกลึง วึ่งยากต่อการถอดพิมพ์





พระปางลีลาเม็ดขนุน

<<พระเครื่องปางลีลา ที่มีพุทธลักษณะงดงาม>>
<< มีลีลาอ่อนช้อย อันจัดเป็นฝีมือสกุลช่างชั้นสูงสมัยสุโขทัย>>
 <<อีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในวงการอีกว่า>>
 <<ท่านงามเป็นเอกกว่าพระพิมพ์ปางลีลาทั้งปวง>> 
<<ยิ่งไปกว่านั้นท่านยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน>>
<<องค์ประกอบพระชุด "เบ็ญจภาคี" เช่นเดียวกับ>> 
<<พระกำแพงซุ้มกออีกด้วย>> 


พระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระพิมพ์ปางลีลา (ก้าวย่าง) เนื้อดิน

                            

        แบ่งออกตามพุทธลักษณะสำคัญได้ 2 แบบคือ


1.  พระปางลีลา (ก้าวย่าง) ด้วย  พระบาทขวา  เรียกกันว่า  เขย่งขวา
2.  พระปางลีลา (ก้าวย่าง) ด้วย  พระบาทซ้าย  เรียกกันว่า  เขย่งซ้าย 
แต่ส่วนใหญ่มักพบเป็น เขย่งขวา


ลักษณะทั่วไป 



องค์พระ      เป็นปางลีลาก้าวย่าง (เขย่งขวา) สถิตย์อยู่ภานในซุ้มประภามณฑล (เป็นเส้นลึก) โดยรอบ
พระเกศ       เรียวแหลมจรดซุ้มประภามณฑล
กรอบไรพระศก       (ไรผม) ในองค์ที่ชัดเจน จะเป็นเส้นพอสังเกตได้
พระพักตร์       (หน้า) ยาวรีเป็นรูปไข่ แบบพระพักตร์พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยและบิดกลับเล็กน้อยพองาม
พระกรรณ      (หู) ทั้งสองข้างเป็นเส้นอ่อนพริ้วสลวย โดยเฉพาะข้างซ้ายยาวจรดพระอังสา (บ่า)
พระศอ      (คอ) เป็นลำกลมชัดเจน
พระอังสา      (บ่า) กว้างผึ่งและวาดโค้งต่อกับลำพระกร (ลำแขน)
พระกร      (แขน) ข้างซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) พระกรข้างขวาขนานกับลำพระองค์ (ลำตัว) และ                   ปรากฏนิ้วพระหัตถ์ทั้งห้าชัดเจน โดยเฉพาะพระอังคุฐ (หัวแม่มือ)
ลำพระองค์      (ลำตัว) เอี้ยวเล็กน้อยพองาม
พระอุระ      (อก) ผึ่งผายอวบอูมเป็นสง่างดงาม
พระกฤษฎี     (บั้นพระองค์) วาดเรียวเล็ก
พระนาภี      (สะดือ) ชัดเจน
พระปราษณี     (ส้นเท้า) ข้างขวายกขึ้นเล็กน้อย แสดงอาการก้าวย่าง (เขย่ง)
พระบาท      (เท้า) ทั้งสองปรากฏชัดเจน
พระกัปประ     (ข้อศอก) ข้างซ้ายปรากฏชายจีวรทอดขนานกับพระวรกายลงมาอย่างอ่อนช้อยงดงามยิ่ง ด้านหลังส่วนมากจะโค้งแบบเม็ดขนุนผ่าซีก

 เนื้อ      เป็นเนื้อดินผสมว่านเนื้อละเอียดหนึกนุ่มมาก ปรากฏว่านดอกมะขามเป็นจุดประแบบเนื้อพระกำแพงทั่วไป
สี       มีทุกสีแบบพระเนื้อดิน คือ สีแดง เหลืองปนแดง สีพิกุลแห้ง เขียวและดำ
กรุที่ได้พระ      มีอยู่ทั้งสองฝั่ง เช่น กรุวัดพิกุล กรุวัดพระบรมธาตุ กรุกลางทุ่ง