วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พระปางลีลาเม็ดขนุน

<<พระเครื่องปางลีลา ที่มีพุทธลักษณะงดงาม>>
<< มีลีลาอ่อนช้อย อันจัดเป็นฝีมือสกุลช่างชั้นสูงสมัยสุโขทัย>>
 <<อีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในวงการอีกว่า>>
 <<ท่านงามเป็นเอกกว่าพระพิมพ์ปางลีลาทั้งปวง>> 
<<ยิ่งไปกว่านั้นท่านยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน>>
<<องค์ประกอบพระชุด "เบ็ญจภาคี" เช่นเดียวกับ>> 
<<พระกำแพงซุ้มกออีกด้วย>> 


พระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระพิมพ์ปางลีลา (ก้าวย่าง) เนื้อดิน

                            

        แบ่งออกตามพุทธลักษณะสำคัญได้ 2 แบบคือ


1.  พระปางลีลา (ก้าวย่าง) ด้วย  พระบาทขวา  เรียกกันว่า  เขย่งขวา
2.  พระปางลีลา (ก้าวย่าง) ด้วย  พระบาทซ้าย  เรียกกันว่า  เขย่งซ้าย 
แต่ส่วนใหญ่มักพบเป็น เขย่งขวา


ลักษณะทั่วไป 



องค์พระ      เป็นปางลีลาก้าวย่าง (เขย่งขวา) สถิตย์อยู่ภานในซุ้มประภามณฑล (เป็นเส้นลึก) โดยรอบ
พระเกศ       เรียวแหลมจรดซุ้มประภามณฑล
กรอบไรพระศก       (ไรผม) ในองค์ที่ชัดเจน จะเป็นเส้นพอสังเกตได้
พระพักตร์       (หน้า) ยาวรีเป็นรูปไข่ แบบพระพักตร์พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยและบิดกลับเล็กน้อยพองาม
พระกรรณ      (หู) ทั้งสองข้างเป็นเส้นอ่อนพริ้วสลวย โดยเฉพาะข้างซ้ายยาวจรดพระอังสา (บ่า)
พระศอ      (คอ) เป็นลำกลมชัดเจน
พระอังสา      (บ่า) กว้างผึ่งและวาดโค้งต่อกับลำพระกร (ลำแขน)
พระกร      (แขน) ข้างซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) พระกรข้างขวาขนานกับลำพระองค์ (ลำตัว) และ                   ปรากฏนิ้วพระหัตถ์ทั้งห้าชัดเจน โดยเฉพาะพระอังคุฐ (หัวแม่มือ)
ลำพระองค์      (ลำตัว) เอี้ยวเล็กน้อยพองาม
พระอุระ      (อก) ผึ่งผายอวบอูมเป็นสง่างดงาม
พระกฤษฎี     (บั้นพระองค์) วาดเรียวเล็ก
พระนาภี      (สะดือ) ชัดเจน
พระปราษณี     (ส้นเท้า) ข้างขวายกขึ้นเล็กน้อย แสดงอาการก้าวย่าง (เขย่ง)
พระบาท      (เท้า) ทั้งสองปรากฏชัดเจน
พระกัปประ     (ข้อศอก) ข้างซ้ายปรากฏชายจีวรทอดขนานกับพระวรกายลงมาอย่างอ่อนช้อยงดงามยิ่ง ด้านหลังส่วนมากจะโค้งแบบเม็ดขนุนผ่าซีก

 เนื้อ      เป็นเนื้อดินผสมว่านเนื้อละเอียดหนึกนุ่มมาก ปรากฏว่านดอกมะขามเป็นจุดประแบบเนื้อพระกำแพงทั่วไป
สี       มีทุกสีแบบพระเนื้อดิน คือ สีแดง เหลืองปนแดง สีพิกุลแห้ง เขียวและดำ
กรุที่ได้พระ      มีอยู่ทั้งสองฝั่ง เช่น กรุวัดพิกุล กรุวัดพระบรมธาตุ กรุกลางทุ่ง